รู้จักกับ พันธบัตรรัฐบาล

หากเราต้องการออมเงินหรือลงทุนในรูปแบบที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่ยังอยากได้รับผลตอบแทนแบบสม่ำเสมอ การซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ หรือพันธบัตรรัฐบาล จัดว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการออมเงินที่ดี เพราะเราสามารถเลือกลงทุนได้ทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาว ทั้งยังไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงกับการลงทุนในกองทุนต่าง ๆ ที่แม้จะให้ผลตอบแทนที่สูง แต่ก็มีความเสี่ยงสูงตามมาด้วยซึ่งพันธบัตรรัฐบาลนั้น นอกจากจะมีความเสี่ยงน้อยกว่า ยังได้รับผลตอบแทนสูงกว่าการออมในรูปแบบของการฝากประจำหรือฝากออมทรัพย์กับทางธนาคารทั่วไปอีกด้วย

พันธบัตรรัฐบาล คืออะไร

พันธบัตรรัฐบาล หรือตราสารหนี้รัฐบาล ที่ออกโดยหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ เพื่อที่ทางรัฐบาลจะสามารถนำเงินที่กู้จากประชาชนนี้ ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้ โดยมีทั้งแบบระยะสั้นและแบบระยะยาว ซึ่งผู้ซื้อพันธบัตรจะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ที่ได้รับการชำระหนี้ รวมถึงดอกเบี้ยและเงินปันผล ส่วนผู้ออกตราสารซึ่งก็คือรัฐบาลจะมีสถานะเป็นลูกหนี้ ซึ่งมีข้อดีก็คือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ และได้รับผลตอบแทนที่ดี โดยจะได้รับผลตอบแทนเป็นอัตราดอกเบี้ยตามกำหนด จัดได้ว่าพันธบัตรรัฐบาลเป็นรูปแบบหนึ่งของการลงทุน ที่แม้จะมีความเสี่ยงต่ำ แต่เราก็ควรจะศึกษาก่อนเสมอ

บัตรเครดิต

พันธบัตรรัฐบาล มีกี่ประเภท

พันธบัตรรัฐบาลสามารถแบ่งได้2 ประเภท คือ

  1. พันธบัตรรัฐบาลชนิดมีใบตราสาร (Scrip) เป็นพันธบัตรในรูปแบบผู้ลงทุนมีไว้ครอบครองโดยระบุชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ และพันธบัตรชนิดจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ไว้ที่นายทะเบียนหรือบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์โดยไม่มีบัตรดอกเบี้ยแต่จะจ่ายดอกเบี้ยโดยการนำเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารตามที่แจ้งไว้
  1. พันธบัตรรัฐบาลชนิดไร้ใบตราสาร (Scripless)เป็นพันธบัตรที่แบ่งตามลักษณะรายได้และเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่มีใบตราสารหนี้ไว้ครอบครอง แต่จะฝากไว้กับนายทะเบียน โดยจ่ายดอกเบี้ยประจำด้วยการนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากตามที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ตราสารแจ้งไว้พันธบัตรประเภทนี้จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการรายได้ประจำ และไม่เหมาะกับผู้ลงทุนที่ไม่ต้องการดอกเบี้ยประจำงวด

ซื้อพันธบัตรรัฐบาล ได้ที่ไหน

การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลก็สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงนำเงินไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่ธนาคารที่ให้บริการภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยเราสามารถซื้อได้ 2 วิธีคือ

  1. ซื้อพันธบัตรรัฐบาลผ่านตลาดแรก เมื่อรัฐบาลออกพันธบัตรมาขาย เราสามารถซื้อเป็นคนแรกโดยไม่ผ่านใครเลย เรียกว่าซื้อขายใน ตลาดแรก พันธบัตรประเภทนี้ที่มีขายก็คือ พันธบัตรออมทรัพย์ ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง โดยสามารถไปซื้อได้ที่ธนาคารต่าง ๆ ที่เป็นตัวแทนจำหน่าย และต้องไปซื้อให้ทันตามกำหนดเวลาเท่านั้นโดยจะมีการแบ่งขายให้แก่ผู้ซื้อรายย่อย ได้แก่นักลงทุนทั่วไปที่ถือสัญชาติไทย และนิติบุคคลที่ไม่แสวงหาผลกำไร
  2. ซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลผ่านตลาดรอง จะเป็นการซื้อขายพันธบัตรหลังจากที่ได้มีการซื้อขายกันในตลาดแรกไปแล้ว โดยที่คนที่ซื้อพันธบัตรมาจากตลาดแรกได้นำมาขายต่อให้นักลงทุนอื่น ๆ ที่มีความสนใจ ซึ่งผู้ขายพันธบัตรในตลาดรองจะไม่ใช่ผู้ออกพันธบัตรแต่จะเป็นนักลงทุนที่ถือครองพันธบัตรอยู่ ซึ่งการซื้อขายพันธบัตรผ่านตลาดรองนั้น ก็แบ่งได้อีก 2 วิธีคือ

2.1 ติดต่อซื้อขายกันเอง สามารถติดต่อกันเองหรือติดต่อผ่านทางสถาบันการเงิน เพื่อพูดคุยและตกลงราคากัน โดยอ้างอิงราคาจากสถาบันการเงิน

2.2 ซื้อขายผ่านโบรคเกอร์ โดยต้องเปิดบัญชีกับโบรคเกอร์ ผ่านระบบ Bond Electronics Exchange หรือ BEXสามารถซื้อขายตราสารหนี้ได้ทั้งของรัฐและเอกชน โดยมีตลาดหลักทรัพย์คอยดูแล

พันธบัตรรัฐบาล คือรูปแบบหนึ่งของการลงทุนจึงมีความเสี่ยงเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นก่อนจะทำการลงทุนในพันธบัตร เราต้องรู้ก่อนว่าเราจะมีความเสี่ยงอะไรบ้าง ความเสี่ยงที่ต้องรับนั้นก็คือ ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง และความเสี่ยงด้านสภาวะเงิน นอกจากนี้ต้องไม่ลืมพิจารณาถึงภาษีด้วย ซึ่งภาษีที่เราต้องจ่าย มีทั้งภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% ของดอกเบี้ยที่ได้รับในแต่ละงวดและภาษีเงินได้ โดยผลตอบแทนจากดอกเบี้ยของพันธบัตรจะถูกนำมาคิดภาษีด้วยเช่นกัน ฉะนั้น หากเราทำความเข้าใจในพันธบัตรรัฐบาลดีแล้ว และพร้อมที่จะลงทุน ก็สามารถรอซื้อได้ตามวันและเวลาที่ทางรัฐบาลกำหนดได้เลย

You May Also Like

More From Author